มวยสากล กีฬาระดับโลก ลุ้นระทึก ตื่นเต้น สมัครรับฟรีเครดิต 200 บาท

มวยสากล
มวยสากล-1

     มวยสากล กีฬามวยในประเทศไทยถือว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด อีกทั้งยังเป็นเกมกีฬาสุดมันส์ที่สามารถสร้างความบันเทิงแบบเต็มพิกัด ครบทุกรสชาติทั้งผู้ชกเองและผู้ชม ซึ่งกีฬามวยไทยกลายเป็นกีฬาขวัญใจระดับโลกของทั้งชาวไทยเอง และชาวต่างชาติก็ยังชื่นชอบและให้การยอมรับกับกีฬามวยของบ้านเราอย่างมากมาย โดยกีฬามวยไทยมีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนมีการพัฒนาและอัพเดทเพื่อให้เกิดความทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงอิงตามรูปแบบดั้งเดิมเสียมากกว่าเพราะมวยไทยถือว่าเป็นศิลปะการป้องกันตัวของชาวไทยในสมัยอดีต จนมีการต่อยอดมาสู่การเดิมพันกับเกมกีฬาของไทย จนชาวต่างชาติเลือกให้เป็นกีฬาสากลระดับโลกกันไปแล้ว

มวยสากล กีฬาสากลระดับโลก

     กีฬามวยถือว่ามีเสน่ห์อย่างมากอีกชนิดหนึ่งเมื่อเทียบกับกีฬาชนิดอื่นๆ เพราะมีการออกท่วงท่าและศิลปะในการป้องกันตัวที่เห็นได้ชัดเจน สร้างความตื่นเต้นและสนุกสนานปลุกปั่นความเร้าใจให้กับผู้รับชมได้มากกว่ากีฬาชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงมีความนิยมในกีฬามวยอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนทำให้กีฬามวยไทยแตกแขนงออกไปสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยต่างประเทศได้มีการพัฒนารูปแบบมวยไทยให้มีความเป็นสากลสู่สายตาของชาวโลกได้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงอัพเดทรูปแบบและวิธีการเล่นให้มีความเป็นสากลและมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น จึงมีการต่อยอดมวยไทยไปสู่มวยสากล ที่มีรูปแบบและวิธีการเล่น รวมไปถึงการนับคะแนน การแต่งกาย การออกหมัดการชกที่มีความเป็นสากล และกลายเป็นกีฬาชนิดที่โด่งดังไปทั่วโลก จนสามารถนำมาสู่ช่องทางการทำเงินจากการเดิมพันได้นั่นเอง

ประวัติของมวยสากล

     ประวัติมวยสากลสมัครเล่นนั้น ปรากฏว่ามีมานานที่อยู่คู่กับมนุษย์มานานมาก อย่างว่ามันเหมือนกับการต่อสู้แขนงหนึ่ง ตามประวัติแบ่งมวยสากลออกเป็นสองช่วงเวลา หนึ่งก็คือช่วงก่อนปีคริสต์ศักราชขอเล่าสั้นๆว่า จุดเก่าสุดที่พอจะหาหลักฐานมาอ้างอิงได้ก็คือ ประมาณ 900-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตอนนั้นยังไม่มีนวมแต่ใช้หนังสัตว์อ่อนเส้นยาวมาพันข้อมือถึงข้อศอกแล้วชกกัน ต่อมายุค 400-200 ปีก่อนคริสต์ศักราชมวยได้พัฒนาวิธีการเล่นมากขึ้น นักมวยจะต้องผ่านการฝึกอย่างหนักเพื่อให้ร่างกายพร้อม จากนั้นก็จะจับคู่มวยแล้วขึ้นชกกันเลย แต่การชกสมัยนั้นไม่มีการพักยก ชกกันจนกว่าจะหมดแรง หรือ บาดเจ็บจนชกไม่ไหวกันไปข้างหนึ่งเลย(โหดน่าดู) ก่อนจะเข้าสู่ยุคโรมัน กีฬาชกมวยเป็นที่นิยมมากของเหล่านักรบแกลดิเอเตอร์ เพราะกีฬามวยคือกีฬาชนิดที่สามารถสร้างความฮีกเหิมให้กับผู้เล่น และยังสามารถปลุกเร้าสัญชาตญาณที่มีอยู่ในตัวให้ออกมาอย่างชัดเจน และยังเป็นการเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายในการออกลีลาท่วงท่าได้มากที่สุด

จุดกำเนิดกีฬามวย

     กีฬาชกมวยนั้นจริงๆ แล้วไม่มีอุปกรณ์หรือกติกาอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก หากเป็นการแข่งขันชกมวยในระดับที่ไม่เป็นทางการหรือการชกตามงานเทศกาลรื่นเริงทั่วไป แต่หากเป็นการจัดการแข่งขันชกมวยในระดับที่เป็นทางการก็จำต้องมีอุปกรณ์ให้ครบถ้วน รวมถึงยังต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานอีกด้วย

     นวมชกมวยเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งที่จำเป็นสำหรับกีฬาชกมวย โดยนักกีฬาจะต้องสวมนวมชกมวยไว้ที่มือเพื่อเป็นการป้องกันอาการบาดเจ็บของมือที่ทำการชก เพราะต้องไปกระทบกับร่างกายฝ่ายตรงข้าม แน่นอนว่ามันไม่ใช่บาดเจ็บเพียงแค่ผู้ถูกชก หากแต่มือของผู้ชกก็บาดเจ็บทางไปด้วยนั่นเอง นวมจะได้ทำหน้าที่ในการกระจายน้ำหนักของหมัดในขณะทำการชก อีกทั้งช่วยผ่อนอาการบาดเจ็บของกระดูกฝ่ามือ ซึ่งอาจเกิดการร้าวหรือหักในการชกมวยได้ โดยรวมทั่วไปนั้นจะมีลักษณะเป็นถุงมือหนา และมักจะทำจากวัสดุจำพวกหนัง ไม่ว่าจะเป็นหนังสัตว์ หรือหนังเทียมก็ได้ มีการห่อหุ้มด้วยแผ่นรองกระแทกบริเวณสันหมัด ซึ่งอาจจะทำจากยางหรือฟองน้ำ ว่ากันว่าตั้งแต่สมัยโรมันที่เราได้เคยนำเรียนไปแล้ว ว่ามีเกมกีฬามวยเกิดขึ้นแล้วนั้น ก็ได้มีอุปกรณ์การต่อสู้ที่มีรูปแบบคล้ายนวมในปัจจุบันเช่นเดียวกันเรียกกันว่า เซตัส ซึ่งนวมเองก็จะมีขนาดต่าง ๆ ตามขนาดฝ่ามือ หรือหมัดของนักกีฬาแต่ละรุ่นโดยนับเป็น ออนซ์ เริ่มตั้งแต่ 4 ออนซ์ 6 ออนซ์ 8 ออนซ์ 10 ออนซ์ 12 ออนซ์ 14 ออนซ์และ 16 ออนซ์ หรือมากกว่านั้นก็มี โดยมาตรฐานทั่วไปของมวยสากลสมัครเล่น จะใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ในการแข่งขัน เพราะต้องการให้มีการป้องกันร่างกายผู้เล่นอย่างเพียงพอ

     การสวมนวมชกมวยเพื่อให้ถูกต้องตามกฎกติกา รวมถึงเป็นการลดอาการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชกได้แล้ว แต่ก็ยังคงมีบางคำถามที่กังวลว่าการชกด้วยการสวมนวมจะป้องกันการบาดเจ็บทางสมองได้หรือไม่เนื่องจากมีงานวิจัยหลายชิ้นพากันยืนยันว่า นวมชกมวยนั้นยังไม่อาจลดทอนอาการบาดเจ็บ ทางสมองอีกในทางกลับกันมันยังเพิ่มผลกระทบความรุนแรงให้มากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็ถือว่ารวมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการชกมวย และแน่นอนว่ามันก็ดีกว่าการที่เราใช้มือเปล่าในการชกมวยอยู่ดีนั่นแหละ ทั้งนี้นวมถูกประดิษฐ์ขึ้นมาภายหลังจากปี คริสตศักราช 1693 หากแต่ในขณะนั้นยังไม่มีกฎกติกา ให้ต้องนำนวมมาสวมในขณะชก จนกระทั่งในปีคริสตศักราช 1889 นายจอห์น แอล ซิลลิแวน นักชกมวยผู้เป็นแชมป์การแข่งขันชกมวยด้วยมือเปล่า ได้ทำการประกาศหลังได้แชมป์ว่าเขาจะไม่ขอยอมขึ้นชกมวยด้วยมือเปล่าอีกต่อไป ด้วยเหตุการณ์นี้จึงทำให้ทั้งทั่วโลกพากันตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจในการใช้อุปกรณ์สำหรับการชกมวยกันมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้นวมที่อาจลดความเสี่ยงที่เกิดจากอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บระหว่างการขึ้นชกได้

สถานการณ์มวยช่วงประวัติศาสตร์

     กีฬามวยถูกแบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยช่วงเริ่มต้นบุกเบิกในยุคประวัติศาสตร์นั้น หลังจากยุคโรมัน ก็มาเข้าสู่ยุคที่มีการบันทึกเอาไว้อย่างเป็นทางการ ต้องเล่าต่อว่า โรมันเข้าบุกอังกฤษ ทำให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมมวยสากลเข้าไปด้วย ทำให้อังกฤษรับวัฒนธรรมดังกล่าวก่อนจะนำมาเล่นต่อด้วยการเปิดเวทีให้มีการแข่งขันชกมวยมากขึ้น รวมถึงมีการประดิษฐ์นวมขึ้นมาเพื่อให้การชกไม่อันตรายเกินไป มวยสากลเริ่มโด่งดังขึ้นเรื่อยด้านหนึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่มีคนสนใจไปเรียนกันมาก มีเวทีการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลจำนวนมาก เงินรางวัลก็ก้อนใหญ่ขึ้นจนจูงใจให้หลายคนเดินบนเส้นทางนี้ เพราะเงินก้อนใหญ่อาจจะพลิกชีวิตของเค้าได้เลย แต่อีกด้านหนึ่งมุมมืดของการแข่งขันมวยอย่างการตัดสินบนกรรมการเพื่อเงินรางวัลด้วยจนทำให้วงการมวยอังกฤษเสื่อมลงไปช่วงหนึ่ง ก่อนจะมีการชำระกติกากันใหม่เพื่อความปลอดภัยและให้การแข่งขันมีความโปร่งใสมากขึ้น

นักสู้แห่งโคลีเซี่ยมโรมันโบราณกับตำแหน่งเกลดิเอเตอร์

     นักกีฬามวยในสมัยอดีตนั้นมีความเข้มข้นและจัดจ้านมากกว่าในปัจจุบันค่อนข้างมากเลยทีเดียว โดยในสมัยโบราณยุคที่โรมันรุ่งเรืองนั้นนักมวยหรือผู้ที่ใช้ศิลปะในการต่อสู้มักถูกเรียกว่าเกลดิเอเตอร์ โดยจัดให้มีการต่อสู้ระหว่างนักสู้สองฝ่ายในสมัยโบราณนั่นก็คือ โคลอสเซียม เป็นสิ่งปลูกสร้างคล้ายหอประชุม หรือสนามฟุตบอลในปัจจุบัน ซึ่งมีโครงสร้างเป็นวงกลมรีมีทั้งหมด 4 ชั้น แยกเป็น 2 ส่วน มีทั้งระเบียงเปิดสามชั้น และชั้นที่ 4 เป็นห้องที่มีหน้าต่างสำหรับชมการต่อสู้ สนามตรงกลางเป็นพื้นหินแข็งโครงสร้างส่วนใหญ่ เสาหลักค้ำก่อสร้างด้วยหินปูนและอิฐ กระเบื้องและซีเมนต์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีอายุมายาวนานกว่า 1900 ปีแล้ว อีกครั้งมันยังสามารถที่จะบรรจุผู้ชมได้มากถึง 5 หมื่น คนขึ้นไป เทียบเท่าสนามฟุตบอลขนาดใหญ่ของทีมฟุตบอลชื่อดังอันดับสูงในโลกยุคปัจจุบันเลยทีเดียว ด้วยว่ากันว่าจากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์นี่บันทึกกล่าวไว้ว่าก่อสร้างทำขึ้นเมื่อปีคริสตศักราช 72 ซึ่งเป็นสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน เพื่อใช้ในการแสดงและการแข่งขันกีฬาในสมัยนั้น ใช้เวลาก่อสร้างเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี ถึงจะแล้วเสร็จ มีชื่อเรียกกันว่า โคลอสเซียม โดยเกมกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดนั่นก็คือ การต่อสู้ของ เกลดิเอเตอร์ นักสู้ที่ถูกจับให้มาต่อสู้กัน โดยอาจจะเป็นการต่อสู้ระหว่างคนด้วยกันเอง หรือไม่ก็เป็นการต่อสู้ระหว่างคนกับสัตว์ร้าย เรียกว่าอะไรที่สู้กันได้ก็ถูกจับยัดให้มาสู้กันที่นี่ ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอจะบอกได้ว่าการต่อสู้ระหว่างคนด้วยกันเองที่เรียกกันว่า เกลดิเอเตอร์ นี้มีมาก่อนหน้านี้นานแล้ว หากแต่เพียงพึ่งจะถูกนำมาใช้แข่งขันกันใน โคลอนเซี่ยม แห่งนี้ จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้างตำนานกีฬามวยที่มีรูปแบบและลักษณะการต่อสู้ที่คล้ายคลึงกัน จนกลายมาเป็นกีฬามวยสากลในปัจจุบันที่มีการรู้จักกันทั่วโลก

จนพลิกผันจากจากมวยโบราณสู่มวยสากลบนเกาะอังกฤษ

     กีฬามวยคือการใช้ศิลปะในการป้องกันตัวหรือการต่อสู้มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการเล่นกีฬา กีฬามวยได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในช่วงประมาณศตวรรษที่ 18 ของประเทศอังกฤษ กล่าวกันว่าหลังจากกีฬามวยที่เดิมเป็นวิชาการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของคนตั้งแต่ยุคโบราณได้ถูกพัฒนา และต่อยอดผ่านการเวลา จนกลายมาเป็นเกมกีฬาในการแข่งขันรายการต่าง ๆ ที่มีเอกลักษณ์สำคัญคือ ไม่ส่งเครื่องป้องกัน และไม่ได้ห้ามว่าจะต้องใช้หมัดอย่างเดียว จะจัดการคู่ต่อสู้ด้วยการ กัด จิก ข่วน อย่างไร ก็ได้ ไม่มีกติกาห้ามไว้เพียงแต่ต้องถอดเสื้อผ้าให้หมดเพื่อไม่ให้ซ่อนอาวุธไว้ใช้บนเวทีก็พอ จนกระทั่งในปีคริสต์ศักราช 1693 ได้มีสุดยอดนักสู้มือเปล่าชาวอังกฤษท่านหนึ่งชื่อ เจมส์ ฟิกซ์ ได้มีการคิดค้นและตั้งกฎ กติกากีฬามวยให้มีความเป็นสากล และสามารถควบคุมการชกระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการคุมสถานการณ์ให้อยู่ในกรอบของกีฬามากขึ้นด้วย เขาจึงถูกขนานนามแต่นั้นมาว่าคือ “บิดาแห่งกีฬามวย”

กติกามวยสากล

     การชกมวยสากลจำเป็นต้องมีกฎกติกาที่แน่นอนชัดเจนและยังต้องมีการตายตัว ทั้งนี้เพราะมวยสากลเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นหรือแข่งขันกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ประเทศใดหรือทวีปใดก็ต้องเล่นกีฬาชนิดนี้โดยยึดกติกาเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อการแข่งขันที่เป็นรูปธรรมและยุติธรรมที่สุด มวยสากลอาชีพ จะมีการตัดสินคล้ายกัน อย่างแรกเรียกว่าการน็อคเอาท์ หมายถึงการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถทำให้อีกฝ่ายลงไปนอนกองกับพื้นได้ กรรมการจะนับ 1-10 หากลุกไม่ถึง หรือ ลุกขึ้นแล้วไม่สามารถชกต่อได้ กรรมการบนเวทีจะชี้ขาดตัดสินผลให้แพ้ทัน สองกรณีที่สองชนะเทคนิคเคิลน็อคเอาท์ การชนะแบบนี้หมายถึงการที่กรรมการด้านล่างมองเห็นว่า คู่ต่อสู้แตกต่างกันเกินไปจนอาจจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งอันตรายได้กรรมการก็จะสั่งหยุดการแข่งขันแล้วให้อีกฝ่ายชนะไป หรือ ดูจากดูคะแนนแล้วแตกต่างกันมากเกินไป กรรมการก็จะหยุดเหมือนกัน ในกรณีเทคนิคเคิลน็อคเอาท์จะมีอีกรูปแบบหนึ่งก็คือกรรมการบนเวทีมองเห็นว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถชกต่อได้ เกิดบาดเจ็บแผลแตก หรือ เมาหมัด แบบนี้กรรมการก็จะตัดสินให้แพ้ไปเลยเนื่องจากป้องกันอันตรายของนักมวยไว้ก่อน สามการตัดสินจากผลคะแนน กรรมการจากด้านล่างทั้ง 3 คนจากทั้งสามมุมมอง จะตัดสินว่านักกีฬาคนใดสามารถทำคะแนนได้เข้าเป้าได้มากกว่ากัน ใครทำคะแนนได้ดีกว่าก็จะเอาชนะไป

การนับคะแนนของมวยสากล

     กีฬามวยสากลจะมีรูปแบบการนับคะแนนที่ละเอียดและมีส่วนปลีกย่อยในการชกเพื่อทำคะแนนมากกว่ามวยไทย ดังนั้นจึงควรศึกษาการนับคะแนนให้เข้าใจมากที่สุดเพื่อการเล่นกีฬาอย่างสนุกสนานและอยู่บนพื้นฐานของกติกาที่ถูกต้องด้วย การนับคะแนนกีฬามวยสากลสมัครเล่นจะใช้กรรมการทั้ง 3 คนด้านล่างเป็นคนกดคะแนน หากกรรมการมองเห็นว่าหมัดที่ออกนั้นเข้าเป้าก็กดให้ซึ่งต้องกดพร้อมกันทั้ง 3 คน (หรือบางครั้งอาจจะเป็น 2 ใน 3) พอครบยก มาดูกันว่าใครได้คะแนนเยอะกว่ากันก็ชนะไป แต่เรื่องที่ทำให้หลายคนตั้งคำถามก็คือ การกดคะแนนจะให้คนทางบ้านเห็นคะแนนแบบเรียลไทม์ว่าใครมีคะแนนเท่าไร แต่พอใกล้จะหมดยก พวกเค้าจะปิดคะแนนไว้ไม่ให้เห็นเพื่อป้องกันนักมวยไม่ยอมเข้าหากัน เนื่องจากทราบคะแนนของตัวเองแล้ว วิธีนี้ก็มีเสียงคัดค้านจากอีกฝ่ายว่ามันเหมือนไม่ยุติธรรม โปร่งใส สักเท่าไร(อยากให้เห็นคะแนนตลอดทั้งยกมากกว่า) วิธีที่สองจะเป็นการนับคะแนนแบบไม่เปิดเผย กล่าวคือกรรมการจะดูการชกจากด้านล่าง พอหมดยกก็จะให้คะแนน แต่ละยกกรรมการแต่ละท่านจะมีคะแนนคนละ 10 คะแนน หากใครชกดีกว่าจะได้ไป 10 คะแนน ใครที่ชกได้แย่กว่าคะแนนก็จะลดหลั่นลงไป หรือหากชกได้ดีเท่ากันกรรมการก็จะให้คะแนนเท่ากัน เมื่อครบยกก็เอามาเทียบคะแนนใครได้มากกว่าก็ชนะ นอกจากนั้นยังมีเคสสำหรับการตัดแต้มด้วย ไม่ว่าจะเป็นกรรมการบนเวทีชี้ขาดว่า นักมวยทำผิดกติกาก็จะโดนเตือนแต่ยังทำอีกก็จะถูกตัดแต้ม สองหากในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล้มลงจากการโดนต่อย แม้จะไม่โดนนับถึง 10 แต่ก็จะโดนตัดแต้มเหลือสูงสุด 8 แต้มในยกนั้น แต่หากล้มมากกว่า 1 ครั้งก็จะเหลือ 7 แต้ม

ต่อยยังไงให้ได้แต้ม

     การชกมวยสากลหรือต่อยมวยอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ ไม่ใช่เพียงแค่ต่อยให้โดนคู่ต่อสู้ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น หากคุณต้องการต่อยเพื่อให้ได้คะแนนในการนับแต้มด้วยล่ะก็ จำเป็นต้องใช้ทั้งเทคนิคและความสามารถเฉพาะตัวประกอบด้วย รวมถึงการใช้ไหวพริบและปฏิภาณในการใช้วิจารญาณในการคำนวณทิศทางการต่อย


     การต่อยให้ได้แต้มยังต้องอยู่บนเงื่อนไขคือ ต้องต่อยให้สันหมัดโดนฝ่ายตรงข้าม สันหมัดก็คือบริเวณที่เป็นพื้นที่สีขาวของนวมนั่นแหละ สองหมัดที่ปล่อยออกมาจะต้องเหวี่ยงมาจากหัวไหล่ และสามจุดกระทบของหมัดกับฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ผิดกติกา โดนใบหน้า ลำตัว อย่าโดนต่ำกว่าเข็มขัด หรือ หลังคอ ไม่งั้นกรรมการไม่นับเผลอๆโดนเตือน โดนหักคะแนนอีก

การโยนผ้าขาวในกีฬามวยสากล

     ความหมายก็แฝงอยู่ในตัวอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่าคือการยอมแพ้อย่างหนึ่งนั่นเอง โดยอาจจะเป็นการยอมแพ้ด้วยเหตุผลหลาๆ ประการ แต่ทั้งนี้ก็คือการยอมแพ้รูปแบบหนึ่งที่อีกฝ่ายได้แสดงเจตนาให้ฝ่ายคู่ต่อสู้ทราบ และจะไม่ทำการชกอีกต่อไปนั่นเอง แต่เชื่อได้ว่าพี้เลี้ยงนักมวยหรือนักชกเองก็คงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแน่นอน เพราะการโยนผ้าขาวสื่อถึงความบกพร่องและความไม่พร้อมมากพอของนักมวยและทีมของตนเอง ทั้งนี้เพราะหากเป็นการชกแพ้ยังดูดีกว่าการยอมแพ้ด้วยการโยนผ้าขาวนั่นเอง

การแบ่งรุ่นน้ำหนักสำหรับการชกมวยสากล

     การชกมวยสากลที่ถูกต้องและถูกกฎกติกา จะต้องมีการแบ่งการชกให้เหมาะสมกับนักมวยแต่ละคนด้วย ดังนั้นการชกมวยสากลจึงมีการแบ่งรุ่นและน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับการชกแต่ละครั้ง ดังนั้นนักชกจึงต้องขึ้นทำการชกให้ถูกรุ่นและน้ำหนักที่กำหนดไว้ด้วย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อมวลมากกว่าย่อมทำให้เกิดแรงปะทะได้มากกว่า เพื่อเป็นการป้องกันตัวนักมวยเองพวกเค้าต้องจัดนักมวยที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกันมาต่อยกัน รุ่นจะแบ่งตามน้ำหนักได้ดังนี้ รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนัก 46-49 กก. รุ่นฟลายเวทน้ำหนัก 49-52 กก. รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนัก 52-56 กก. รุ่น ไลท์เวทน้ำหนัก 56-60 กก. รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท์ 60-64 กก. รุ่นเวลเตอร์เวท 64-69 กก. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนัก 69-75 กก. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท 75-81 กก.(รุ่นใหญ่สุดของมวย) แต่ถ้าเป็นมวยสากลสมัครเล่นหญิง พิกัดรุ่นจะปรับให้เหมาะสม รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนัก 45-48 กก. รุ่นฟลายเวท น้ำหนัก 48-51 กก. รุ่นแบนตั้มเวท 51-54 กก. รุ่นเฟเธอร์เวท 54-57 กก. และ รุ่นไลท์เวท 57-60 กก. ทีนี้พอเราได้ยินชื่อรุ่นมวยก็จะเข้าใจได้นะว่าแตกต่างกันอย่างไร อีกคำถามก็คือทำไมนักมวยต้องเน้นเรื่องการควบคุมน้ำหนักด้วย อย่างแรกการไม่คุมน้ำหนักจะทำให้การลดน้ำหนักก่อนชกทำได้ยากมาก หากโหมลดจะทำให้เหนื่อยและแรงไม่ไหว ที่สำคัญหากนักกีฬาชั่งน้ำหนักก่อนเช้าวันชกแล้วไม่ผ่าน กรรมการจะให้โอกาสแก้ตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่หากเมื่อได้รับโอกาสแล้วก็ยังไม่สามารถลดน้ำหนักลงเพื่อเข้ามาชกยังรุ่นนี้ได้ นักมวยคนนั้นก็ไม่สามารถเข้าชกในรุ่นและน้ำหนักตามที่ต้องการได้

การตัดสินกีฬามวยสากลบนเวที

     ผู้ตัดสินบนเวทีนับว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดนักชกทั้งสองฝ่ายมากที่สุดในขณะทำการแข่งขัน ดังนั้นจึงสามารถมองเห็นทุกรายละเอียดการชก การทำฟาล์วและการทำพฤติกรรมต่างๆ ได้ชัดเจนมากกว่าผู้รับชมที่อยู่ด้านล่างเวที โดยปกติแล้วกรรมการบนเวทีจะตัดสินในกรณีที่นักมวยทำผิดกฎ หรือ ผิดจังหวะอย่างเช่น การเข้ากอด(กรรมการต้องเข้ามาแยก) การต่อยผิดวิธีการ การหลบหมัดผิดวิธี(หันหลังให้คู่ต่อสู้ หลบแบบนี้ผิดเพราะอาจจะทำให้มองไม่เห็น อันตราย) หรือแม้แต่การจัดคู่ชกให้เข้ามาชกกันด้วย ถ้านักมวยไม่ชกกันกรรมการบนเวทีจะดึงมือและเตือนให้ชกกัน ถ้าไม่ทำจะหักคะแนน สุดท้ายกรรมการตัดสินบนทีสามารถตัดสินยุติการชกในกรณีที่ชกแบบไม่สมศักดิ์ศรี(เหมือนล้มมวย)ได้ กรณีนี้มวยสากลสมัครเล่นเกิดได้ยากมาก

อุปกรณ์มวยสากล ที่จำเป็นต้องใช้ตามหลักสากล

     เราได้รวบรวมอุปกรณ์การชกมวยรวมไปถึงการแข่งขันกีฬาชกมวยทั้งหมดที่ถูกต้องมาให้คุณได้รับทราบกันแล้ว ซึ่งการชกมวยสากลที่ถูกต้องจะต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้ทั้งหมด ทั้งยังจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานในระดับสากลอีกด้วย

1. สังเวียนมวย

     สังเวียนมวยหรือที่เรานิยมเรียกกันง่ายๆ จนติดหูว่า “เวทีมวย” นั้น ต้องมีขนาดและทำจากวัสดุที่ได้มาตรฐานทั้งยังจะต้องมีความสูงที่ได้มาตรฐานระดับสากลอีกด้วย ขนาดของเวทีต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดด้านละ 20 ฟุต ตัวเวทีจะสูงกว่าพื้นประมาณ 3-4 ฟุต (เวทีต้องไม่สูงกว่านี้เพื่อให้กรรมการมองเห็นหมัดได้ชัด และนักกีฬาจะไม่ก้าวขึ้นสูงเกินไป) เชือกกั้นเวทีอันนี้สำคัญ เพื่อป้องกันนักมวยตกเวที ในกรณีที่ถูกชกหรือดัน เชือกจึงต้องมีขนาดและความยาวตามกำหนด มาตรฐานบอกว่า เชือกต้องมี 4 เส้น เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1.5 นิ้ว เชือกต้องขึงติดกับเสามุมแบบไม่มีปมระหว่างเชือก เชือกต้องหุ้มด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม และเรียบ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บจากการพิงเชือก และช่องว่างระหว่างเชือกต้องเท่ากัน เพื่อถ่วงน้ำหนักนักมวยได้เวลาพิง พื้นเวทีอันนี้สำคัญมากเพราะหากพื้นไม่ดีอาจจะทำให้นักมวยเคลื่อนไหวไม่ดี (ฟุตเวิร์ค) ซึ่งมีผลต่อการชกอย่างมากลองนึกภาพนักมวยขยับตัวไม่ดีอาจจะโดนฝ่ายตรงข้ามน็อคได้เลยภายในหมัดเดียว พื้นเวทีตามมาตรฐานบอกว่า ต้องปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวางอะไรเลย พื้นต้องปูด้วยสักหลาด ยาง หรือวัสดุอะไรก็ได้เพื่อให้เกิดความปลอดภัย มองไปด้านมุมเราเห็นภายนอกเป็นเพียงแค่เสา รายละเอียดก็คือ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว สูงขึ้นไปจากเวที 60 นิ้ว หุ้มเสาให้เรียบร้อยด้วยนวมเพื่อความปลอดภัย อีกสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับเวทีแต่ไม่ได้อยู่บนเวทีก็คือ บันไดขึ้นเวที กำหนดไว้เลยว่าต้องมี 3 ขั้นบันได้ กว้างไม่น้อยกว่า 3 ฟุต เพื่อให้เดินได้สะดวก ต้องวางไว้เพื่อให้พี่เลี้ยง นักมวย ทีมแพทย์ กรรมการชี้ขาดขึ้นลง อีกอย่างหนึ่ง กล่องพลาสติก วางไว้ที่มุมกล่องทั้งสองด้านของสังเวียน ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์สามารถเรียกใช้งานได้ง่ายหากเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บในระหว่างชกมวยนั่นเอง

2. นวม อุปกรณ์สำคัญที่ส่งผลต่อการทำคะแนน

     นวมถือเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใส่ใจและพิถีพิถันเป็นอย่างดี อีกทั้งนวมยังมีความจำเพาะสำหรับนักมวยบางคนอีกด้วย เพราะนวมที่นักมวยใส่แล้วถนัดมือที่สุด เหมาะสมกับตนเองที่สุดจะสามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักชกได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว หากไม่มีนวมการชกกันของนักมวยอาจจะนำมาซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้เลย ไม่เพียงแค่นั้นนวมยังสามารถป้องกันการโดนชกบริเวณที่เปราะบางอย่าง จมูก, ดวงตา ได้ด้วย นวมตามประวัติบอกว่ามีมานานมากแล้วตั้งแต่ยุคโรมันโน่นเลย ยุคนั้นมีการแข่งขันต่อสู้เหมือนกันพวกเค้าจะใช้อุปกรณ์คล้ายกับนวมชื่อว่า เซสตัส ทำจากหนังสัตว์ หุ้มด้วยโลหะ แต่นวมตอนนั้นเป็นอุปกรณ์เพิ่มน้ำหนักหมัดให้แรงยิ่งขึ้น มากกว่าจะป้องกันอันตรายมากกว่า ปัจจุบันนวมมวยสากลสมัครเล่นจะใช้สีแดงและน้ำเงินเป็นหลัก แต่หากเป็นระดับมวยสากลอาชีพจะเป็นสีอื่นได้ นอกจากนั้นน้ำหนักของนวมก็จะมีหลายระดับด้วย เค้าจะแบ่งออกตามน้ำหนักออนซ์ เริ่มตั้งแต่ 4,6,8,10,12,14,16 หากยิ่งนวมน้ำหนักมากก็จะป้องกันบาดเจ็บได้มากด้วย(หากเป็นการซ้อมจะใช้นวมน้ำหนัก 14,16 ออนซ์ไว้) แต่หากเป็นมวยสากลแบบแข่งขันจริงจะใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ เพื่อป้องกันและทำให้หมัดไม่หนักมากเกินไป แต่ถ้าเป็นมวยที่เด็กกว่านั้นก็จะใช้นวมขนาดมากกว่า 10 ออนซ์ขึ้นไปเพื่อเซฟนักมวย

3. การแต่งกายของนักมวย

     การแต่งกายของนักมวยถือว่าเป็นสิ่งที่ห้ามมองข้ามอีกเช่นกัน เพราะเครื่องแต่งกายสำหรับกีฬามวยสากลนั้นจะต้องมีอุปกรณ์เสริมสำหรับป้องกันการบาดเจ็บ และหากนักมวยแต่งกายไม่ถูกต้องอาจถูกตัดคะแนนสำหรับการชกได้ด้วย ต้องใส่เฮดการ์ดเพื่อป้องกันศีรษะจากการโดนชก ไล่ลงมาเป็นเสื้อจะเป็นเสื้อกล้าม หรือ เสื้อแขนกุด เพื่อให้สามารถออกหมัดได้ง่าย และเห็นหัวไหล่ กางเกงขาสั้นไม่เกินเข่า รองเท้าจะต้องเป็นชนิดเบา ไม่มีตะปู และส้นเท้า (เพื่อป้องกันการเหยียบฝ่ายตรงข้ามจนเจ็บเท้า) ส่วนเรื่องสีเสื้อ กางเกง จะมีการคัดเลือกไว้ก่อนแล้วว่านักกีฬาจะต้องใช้สีอะไรแดงหรือน้ำเงินเพื่อให้เตรียมตัวได้ถูกต้อง ต่อมาเป็น ฟันยาง อันนี้สำคัญมากหากไม่ใส่อาจจะเป็นอันตรายภายในช่องปากได้ ฟันหลุดติดหลอดลมได้ ส่วนช่วงล่างของลำตัวก็ต้องใส่อุปกรณ์เสริมเพื่อป้องกันการกระแทกที่อาจทำให้อวัยะเพศชายเกิดการบาดเจ็บไว้อีกด้วย

จุดเริ่มต้นของมวยสากล ในประเทศไทย

     จุดเริ่มต้นของมวยสากลในประเทศไทยแต่เดิมนั้นคนไทยจะเรียกกันว่ามวยฝรั่ง เพราะไทยเรามีมวยไทยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ดังนั้นมวยสากลที่ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในไทยเราจึงเรียกกันถนัดปากว่า “มวยฝรั่ง” โดยมวยฝรั่งนี้ได้ถูกนำมาเผยแพร่จากประเทศอังกฤษในปี 1912 โดยหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดีกุล ซึ่งคนไทยได้รู้จักกีฬาชนิดนี้ครั้งแรกที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทย จนทำให้มีการจัดแข่งขันชกมวยสากลระหว่างนักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งกลายมาเป็นมวยสากลสมัครเล่นในบ้านเราในปัจจุบัน จากนั้นพระยาคฑาธรบดีสีหบาลเมือง ได้มีการสร้างสวนสนุกขึ้นในส่วนศาลาแดงของสวนลุมพินีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เรารู้จักในปัจจุบันนี้ จัดให้มีการละเล่นต่าง ๆ รวมทั้งการจัดเวทีให้นักมวยสากลจากต่างประเทศมาชกกับนักมวยไทยอีกด้วย โดยมีการขึ้นชกครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2472 ทำให้กีฬามวยกลายเป็นกีฬายอดนิยมที่ได้รับการพูดถึงและกระจายตัวทางด้านการให้ความยอมรับอย่างรวดเร็วในประเทศไทย จนกระทั่งมีการฝึกซ้อมนักมวยเพื่อส่งเข้าสู่สังเวียนการแข่งขันและสามารถสร้างชื่อเสียงจากการแข่งขันกีฬามวยสากลกันอย่างมากมาย

จุดระเบิดตำนานมวยระดับโลกกับนายขนมต้ม

     “นายขนมต้ม” คือบุคคลที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้โด่งดังไปทั่วประเทศตั้งแต่สมัยอดีต จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านไปชื่อของนายขนมต้มก็ยังคงเป็นตำนานอยู่ดี แม้ว่าจะเป็นมวยไทยแต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในตำนานมวยโบราณ ที่ชาวไทยต่างคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยนายขนมต้มถือว่าเป็นนักมวยคาดเชือกซึ่งเกิดตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ที่ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 เขาได้ถูกกวาดต้อนร่วมกับชาวบ้านคนไทย หรืออื่น ๆ ไปเป็นเชลยศึกในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามการสร้างชื่อเสียงที่โด่งดังของเขากลับไปเกิดมากที่สุดในเมืองของดินแดนพม่า โดยกล่าวกันว่าในช่วงเวลานั้นพระเจ้ามังระได้ทำการปฏิสังขรณ์การต่อเติมพระเจดีย์ชเวดากองแห่ง เมืองย่างกุ้ง ใน ปี พ.ศ. 2317 ได้ทำพิธียกฉัตรใหญ่เป็นปฐมฤกษ์ พร้อมกับให้จัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ รวมทั้งได้ทรงตรัสให้เอานักมวยไทยที่ได้ชื่อว่ามีฝีมือดีมาต่อสู้กับนักมวยพม่าเพื่อถวายให้พระเจ้ามังระได้ทรงทอดพระเนตร ซึ่งนายขนมต้มได้โชว์ฝีมือในการชกมวยสามารถเอาชนะนักมวยพม่าได้ถึง 9 คน 10 คนรวด เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามังระ เป็นอย่างมาก ทำให้พระองค์ได้ปล่อยนายขนมต้ม และคนไทยทั้งหมดเป็นอิสระ และกลับบ้านเกิด แม้ว่านายขนมต้มจะโด่งดังและมีชื่อเสียงสำหรับมวยไทยก็ตาม แต่กระนั้นชาวต่างชาติก็ยังคงให้การยอมรับและรู้จักในชื่อเสียงของศิลปะการต่อสู้ผ่านชื่อเสียงของนายขนมต้มอย่างมากมาย

ประวัตินักมวยไทย ที่เป็นตำนานในปัจจุบัน

     นักกีฬามวยไทยที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีอยู่หลายท่าน โดยเราได้รวบรวมมานำเสนอดังนี้

เขาทราย แกแล็คซี่ เจ้าของฉายาไอ้หมัดซ้ายทะลวงไส้

     เขาทราย แกแล็คซี่ ผู้ถือว่าเป็นแชมป์โลกคนที่ 9 ของชาวไทย อยากควบตำแหน่งแชมป์โลกคนที่ 4 ในรุ่น Super Flyweight cแห่งสมาคมมวยโลก (WBA) สิ่งที่ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดัง และควรค่าแก่การกล่าวถึงมาจนถึงในปัจจุบันนี้นั่นก็คือ การที่ในขณะที่เขาครองตำแหน่ง เขาสามารถขึ้นแข่งขัน และชกป้องกันตำแหน่งได้นานที่สุดถึง 19 ครั้ง ติดต่อกัน อันกลายเป็นสถิติโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้ที่ยังไม่มีใครโค่นลงได้ในเวลาดังกล่าว และถือเป็นสถิติสูงสุดลำดับที่ 3 หากนับรวมการป้องกันแชมป์โลกของกีฬามวยสากลในทุกรุ่น และมีการจับเวลาว่า เขาได้ครองแชมป์โลกอยู่เป็นเวลานานถึง 7 ปี 2 เดือน กับอีก 30 วัน เลยทีเดียว ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่าเขาจะได้รับเกียรติให้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติเข้าสู่หอเกียรติยศ International Boxing Hall Of Fame ของ BWAA ตั้งไว้ในหอเกียรติยศมวยโลก เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งรางวัลเชิดชูเกียรติ Hall Of Fame ของสภามวยโลก WBA

โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกมวยสากลคนแรกของชาวไทย

     คอมวยไทยคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับชื่อนี้อย่างแน่นอน เพราะโผน กิ่งเพชร ถือว่าเป็นนักมวยในตำนานที่สร้างชื่อเสียงและเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักถึงการใช้ศิลปะป้องกันตัวผ่านการแข่งขันกีฬามวยไทยได้อย่างกว้างขวาง โผน กิ่งเพชรมีฝีมือการชกมวยอันยอดเยี่ยมที่ทำให้ นอกจากจะกลายเป็นแชมป์โลกชาวไทยคนแรกแล้ว ยังสามารถป้องกันแชมป์โลกได้ถึง 3 สมัยด้วยกัน โดยการชิงแชมป์โลกครั้งแรกของเขาได้รับเกียรติอย่างสูง เพราะได้ขึ้นชกต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทย และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ สนามมวยเวทีลุมพินี ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2503 ต่อยชิงแชมป์จาก ปัสกวล เปเรซ แชมป์โลกชาวอาร์เจนตินา แม้ว่าในช่วงเวลานั้นประเทศไทยจะยังคงไม่พัฒนาด้านการสื่อสารเท่าทุกวันนี้ ไม่มีแม้กระทั่งสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แม้แต่สถานีเดียว แต่ก็ยังคงมีการถ่ายทอดเสียงผู้บรรยายทางวิทยุกระจายเสียงอีกด้วย ทำให้วันที่เขาได้แชมป์ได้ถูกกำหนดครั้งแรกให้เป็นวันแห่งกีฬาไทยเพื่อให้ผู้คนชาวไทยได้ระลึกถึงวีรบุรุษผู้กล้าที่เป็นนักชกไทย ที่สามารถแสดงฝีมืออันเก่งกล้าในการแข่งขันกีฬามวย จากนั้นต่อมาก็ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมการแข่งขันของโผน กิ่งเพชร

สมรักษ์ คำสิงห์ นักชกมวยผู้ได้เหรียญทองโอลิมปิกคนแรกของประเทศไทยในกีฬามวยสากลสมัครเล่น

     เมื่อมวยสากลกลายเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ก็ได้มีการตื่นตัวและฝึกซ้อมนักมวยอย่างจริงจังเรื่อยมา โดยมีการแข่งขันกีฬาชกมวยสากลร่วมในรายการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ และระดับนานาชาติหลายรายการ ตั้งแต่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีคริสตศักราช 1914 ในเมืองเซนต์หลุยส์ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งถูกนำมาเป็นรายการแข่งขันกีฬาในเอเชียนเกมส์ตั้งแต่ปี คริสตศักราช 1954 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งสมรักษ์ คำสิงห์ สามารถพิชิตเหรียญทองโอลิมปิคเหรียญแรกให้กับประเทศไทยได้อย่างเอกฉันท์และกลายเป็นนักชกในตำนานไปอีกหนึ่งคนนั่นเอง

สถานการณ์มวยสากลสมัครเล่นกับการแข่งขันกีฬาในปัจจุบัน

     กีฬา มวยสากล ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้เข้าสู่การเป็นกีฬาระดับสากล และได้สร้างนักชกอาชีพหรือนักกีฬาที่มีอาชีพชกมวยสากลออกมาอย่างมากมาย และยังมีการนำกีฬาดังกล่าวไปบรรจุไว้เป็นอีกหนึ่งในรายการแข่งขัน ของรายการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ และระดับนานาชาติหลายรายการ ตั้งแต่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีคริสตศักราช 1914 ในเมืองเซนต์หลุยส์ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งถูกนำมาเป็นรายการแข่งขันกีฬาในเอเชียนเกมส์ตั้งแต่ปี คริสตศักราช 1954 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์