แบดมินตัน กีฬายอดนิยม เล่นง่าย กฏกติกาไม่ยุ่งยาก

แบตมินตัน
แบตมินตัน-1

     แบดมินตัน กับการกระจายชื่อเสียงและความนิยมให้กับคนไทยเรื่อยมา คือกีฬาชนิดหนึ่งที่ใช้ไม้ในการตีลูกสลับกันไปมา โดยลูกที่ใช้ในการตีจะเรียกว่า ลูกขนไก่ โดยแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายด้วยกัน และ มีการแบ่งประเภทการเล่น 2 ประเภทได้แก่ ผู้เล่นแบบเดี่ยว และ ผู้เล่นแบบคู่ ตัดสินแพ้ชนะ 2/3 เกม ฝ่ายใดสามารถทำคะแนนสูงสุด 21 คะแนนได้ก่อนถือเป็นผู้ชนะในเกมนั้นทันที

จุดกำเนิดของ แบดมินตัน จุดเริ่มต้นกีฬาที่มีการยอมรับจากทั่วโลก

     แบดมินตันมีลักษณะคล้ายกับการเล่นกีฬาชนิดอื่นๆ ทั่วไปที่ไม่ยุ่งยาก แต่แต่ประวัติการก่อกำเนิดก็ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน สิ่งเดียวที่เป็นหลักฐานพอจะยืนยันการมีอยู่ของกีฬาชนิดนี้ได้กลับเป็นภาพสีน้ำมันของพระราชวงศ์ในอังกฤษที่เผยให้เห็นการเล่นกิจกรรมที่คล้ายกับแบดมินตัน แต่เรียกในชื่ออื่น

     ดังนั้นหากจะย้อนกลับไปหาหลักฐานที่พอจะยืนยันได้ ก็ต้องไปที่ พ.ศ.2413 ค้นเจอว่ามีการเล่นกีฬาชนิดหนึ่งที่คล้ายกับกีฬาลูกขนไก่ที่เมือง ปูนา ประเทศอินเดียว เมืองนี้อยู่ห่างจากเมืองบอมเบย์ประมาณ 50 ไมล์ โดยการละเล่นชนิดนี้จะเป็นการผสมผสานกันระหว่างการเล่นปูนา กับการเล่นไม้ตีลูกขนไก่ ซึ่งเดิมทีการเล่นชนิดนี้ถูกสงวนเอาไว้เฉพาะนายทหารชั้นสูง ขุนนาง เชื้อพระวงศ์เท่านั้น คนทั่วไปไม่ได้เล่นเลย

     แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป นายทหารอังกฤษที่ได้ไปประจำการที่อินเดียวได้กลับประเทศอังกฤษ ก็ได้เอาการละเล่นชนิดนี้กลับอังกฤษไปด้วย ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนชื่อคำว่า แบดมินตัน มาจากการละเล่นชนิดนี้เอาจากอินเดียไปเผยแพร่ที่อังกฤษ ณ คฤหาสน์แบดมินตัน ของดยุคท่านหนึ่ง เลยทำให้การละเล่นชนิดนี้เรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ที่เผยแพร่เป็นแห่งแรกบนอังกฤษนั่นเอง

การกระจายความนิยมสำหรับกีฬาแบดมินตัน เผยแพร่ทั่วยุโรป

     เมื่อมีการเล่นกีฬาแบดมินตันในอังกฤษอย่างแพร่หลายแล้ว กีฬาชนิดนี้ได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่นอีกด้วย จุดเด่นของกีฬาชนิดนี้ก็คือสามารเล่นในตึก อาคารได้เลย ไม่ต้องห่วงเรื่องฟ้าฝนแปรปรวน ลมแรง หิมะตก ซึ่งกีฬาหลายชนิดต้องเล่นกลางแจ้งทำให้เป็นอุปสรรคไป แต่แบดมินตันเล่นในร่มได้เลย จัดกันได้ทั้งวัน ด้วยจุดเด่นนี้ทำให้กีฬานี้เผยแพร่ไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว ผ่านทางผู้คนอังกฤษที่เข้าไปในประเทศนั้นจนถึงประเทศอเมริกา สองเผยแพร่ไปทางอาณานิคมอังกฤษ และจากสองอย่างนี้ก็กีฬานี้ก็ได้ถูกนำมาเผยแพร่ยังประเทศต่างๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง รวมไปถึงประเทศไทยของเราเองด้วย

จุดเริ่มต้นในการจัดตั้งสมาคม แบดมินตัน

     การจัดตั้งสมาคมถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว เพราะถือว่ามีการตื่นตัวกับกีฬาชนิดนี้อย่างมาก โดยหลังจากเล่นในอังกฤษอย่างแพร่หลายแล้ว กีฬาชนิดนี้ได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่นอีกด้วย จุดเด่นของกีฬาชนิดนี้ก็คือสามารเล่นในตึก อาคารได้เลย ไม่ต้องห่วงเรื่องฟ้าฝนแปรปรวน ลมแรง หิมะตก ซึ่งกีฬาหลายชนิดต้องเล่นกลางแจ้งทำให้เป็นอุปสรรคไป แต่แบดมินตันเล่นในร่มได้เลย จัดกันได้ทั้งวัน ด้วยจุดเด่นนี้ทำให้กีฬานี้เผยแพร่ไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว ผ่านทางผู้คนอังกฤษที่เข้าไปในประเทศนั้นจนถึงประเทศอเมริกา สองเผยแพร่ไปทางอาณานิคมอังกฤษ และจากสองอย่างนี้ก็กีฬานี้ก็แพร่ออกไปอีกทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย

การจัดรายการแข่งขันแบดมินตัน ระหว่างประเทศ

     เมื่อเริ่มมีคนทั่วไปรู้จักกับกีฬาชนิดนี้มากขึ้น และจากความนิยม ทำให้มีการจัดแข่งขันระหว่างประเทศขึ้น เรื่องนี้มีที่มาก็คือ พ.ศ.2482 ได้มีนักแบดมินตันอาวุโสคนหนึ่งชื่อว่า เซอร์ จอร์จ โทมัส เค้าได้มอบถ้วยรางวัลเป็นทองคำราคา 5,000 ปอนด์(ค่าเงินในตอนนั้นถือว่าสูงอยู่นะ หากมาเทียบค่าเงินในตอนนี้คงประเมินค่าได้ยากมาก) เพื่อให้กับสมาคมแบดมินตันระหว่างประเทศ เพื่อเป็นรางวัลในการแข่งขันชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศประเภทชาย สมาคมจึงรับเอาไว้ดำเนินการต่อความประสงค์ของเจ้าของถ้วยรางวัล จึงเกิดการแข่งขันที่ชื่อว่า โธมัสคัพ ขึ้นมา(แข่งมาจนถึงทุกวันนี้) โดยมีระยะการแข่งขันทุก 3 ปี จากความนิยมรายการแข่งขันนี้ทำให้ กีฬาแบดมินตันถูกบรรจุลงในการแข่งขันกีฬาระดับประเทศอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ จนกระทั่งโอลิมปิคเกมส์ในที่สุด

จุดเริ่มต้นของแบดมินตัน ในไทย

     จุดเริ่มต้นของกีฬาแบดมินตันในไทยนั้นมีที่มาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง โดยที่ไทยเราเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศด้วยกันสำหรับกีฬาชนิดนี้ ต้นกำเนิดในบ้านเราต้องบอกว่าอยู่ในสวนหลังบ้านของ พระยานิพัทยกุลพงษ์ ท่านได้ตั้งตาข่ายเพื่อเล่นแบดมินตันในบ้านของท่านเอง ตรงริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี จากนั้นก็เล่นกันอย่างแพร่หลายนิยมออกไปเรื่อยๆในวงกว้าง แต่ก็ยังถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นสูงของประเทศอย่าง ผู้ดี เจ้าขุนมูลนายเสียมากกว่า ตอนนั้นเล่นกันแบบทีม 3 คน พอเล่นกันเยอะก็เลยมีการจัดแข่งขันขึ้นมาโดยมีสโมสรกลาโหมรับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน แบดมินตันตอนนั้นการแข่งขัน 3 ประเภทคือ เดี่ยว คู่ และ 3 คน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของนักแบดมินตันไทยที่มีรายการแข่งขันเพื่อพัฒนาตัวเอง จนมีการต่อยอดการแข่งขันรายการแบดมินตันภายในประเทศไปสู่การแข่งขันระหว่างประเทศที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากขึ้น

     จากรายการแข่งขันนั้น ได้เกิดการพัฒนาตามโมเดลเหมือนกับประเทศอื่นก็คือ ก่อตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2494 โดยพระยาจินดารักษ์ พอได้สมาคมของประเทศไทย เราก็พัฒนาต่อเนื่องเข้าเป็นสมาชิกสมาคมแบดมินตันระหว่างประเทศเลย ทำให้เราได้สิทธิ์ในการส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็นรายการ โธมัสคัพ , อูเบอร์คัพ และ ออลอิงแลนด์ทำให้นักแบดมินตันไทยต้องพัฒนาตัวเองเยอะทีเดียวไทยเราตอนนั้นก็มนักแบดมินตันฝีมือดีหลายคน หนึ่งในนั้นนักแบดมินตันที่มีชื่อเสียงก็คือ นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันไทย จากนั้นก็พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อุปกรณ์กีฬาแบดมินตัน มีอะไรบ้าง

     อุปกรณ์ในการเล่นกีฬาแบดมินตันถือว่าไม่ยุ่งยากเท่าใดนัก ใช้เพียงแค่ไม่กี่อุปกรณ์ก็สามารถเล่นกีฬาแบดมินตันได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักอุปกรณ์ในการเล่นแบดมินตัน ว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง แต่ละอุปกรณ์ใช้ทำอะไร พร้อมเจาะลึกทุกประเภทชนิดอุปกรณ์ของแบดมินตัน

ลูกแบดหรือลูกขนไก่

     ลูกขนไก่หรือที่เราๆ มักเรียกกันติดปากว่าลูกแบดถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกีฬาชนิดนี้มาก และก็ยังหาซื้อได้ง่ายอีกด้วย โดยเริ่มต้นพัฒนามาจากการที่กีฬาแบดมินตัน เป็นกีฬาที่แปลกอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะมีการพัฒนาสนาม การพัฒนาอุปกรณ์การเล่น เครื่องแต่งกาย ไม้แร็คเก็ตให้พัฒนาไปมากเท่าไร เทคโนโลยีดีแค่ไหน แต่สิ่งที่ไม่ยอมเปลี่ยนไปเลยก็คือ ลูกขนไก่ซึ่งเป็นสื่อกลางในการเล่น ยังใช้ลูกขนไก่แบบเดิม (แต่พัฒนาด้านงานประกอบและหัวสัมผัสให้ดีขึ้น) แต่การเปลี่ยนจากขนไก่แท้มาเป็นขนไก่สังเคราะห์กลับไม่ดีเท่าไรแม้ว่าจะมีลูกขนไก่ปลอมที่ขนไก่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ก็ตาม แต่กลับไม่ได้รับความนิยมในการแข่งขันเท่าไรนัก ส่วนใหญ่เอาไปใช้กันเล่นทั่วไปมากกว่า ลูกขนไก่นั้นจะเป็นรูปทรงกรวย ด้านหนึ่งทำจากหัวไม้ก็อกเพื่อเป็นจุดสัมผัสกับหน้าไม้ อีกด้านหนึ่งเป็นขนไก่ มาตรฐานกำหนดว่า ขนไก่ต้องมีทั้งหมด 16 อันปักอยู่บนฐาน(ต้องมีขนเท่ากันเพื่อให้น้ำหนักและวิถีไปทางเดียวกัน) ขนไก่ข้องมีความยาวประมาณ 62-70 มิลลิเมตรเท่านั้น ขนต้องมัดให้แน่นด้วยที่กำหนดรายละเอียดเอาไว้แบบนี้ก็เพราะว่า ลูกขนไก่ที่แตกต่างกันจะสร้างความแตกต่างทั้งในเรื่องวิถีการตี การลงน้ำหนัก และแนวทางของการเคลื่อนที่ของลูกขนไก่อีกด้วยนั่นเอง

ไม้แบดมินตัน (ไม้แร็กเก็ต)

     อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและถือได้ว่าเป็นอาวุธสำคัญของคนเล่นกีฬาแบดมินตันก็คือ ไม้แบดมินตัน หรือ ไม้แร็กเก็ต แต่เพื่อไม่ให้นักกีฬาแตกต่างกันมากเกินไป จึงต้องมีการกำหนดขนาดของ ไม้แบดมินตัน ไว้เพื่อให้เท่าเทียมกัน ไม้แบดมินตัน จะมีความยาวทั้งหมด 680 มิลลิเมตร โดยไม้แบดมินตันจะแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้านบนจะเป็นพื้นที่วงกลมเพื่อสัมผัสกับลูก ขึงด้วยเนต เรียกส่วนนี้ว่า หัว ถัดลงมาจะเป็นคอของไม้แร็กเก็ตที่เชื่อมหัวกับก้านเข้าด้วยกัน ส่วนที่เหลือจะเป็นก้านยาว และ ด้ามจับพื้นที่ด้ามจับจะใหญ่กว่าก้านเล็กน้อย พันด้วยเทปหรือวัสดุบางอย่างเพื่อให้จับถนัดมือมากขึ้น วัสดุที่ทำไม้แบดมินตันอาจจะทำจากเหล็ก หรือ วัสดุอื่นที่เน้นความแข็งแรงทนทานให้กับไม้แบดมินตันก็ได้

เครื่องแต่งกายของผู้เล่น แบดมินตัน

     เครื่องแต่งกายสำหรับกีฬาชนิดนี้คงไม่มีรายละเอียดมากายเท่ากีฬาชนิดอื่นๆ มากนัก เพราะแบดมินตัน เป็นกีฬาที่ไม่ได้เคร่งเรื่องเครื่องแต่งกายมากนัก เป็นเพราะว่าเดิมทีเป็นกีฬาเพื่อความสนุกสนานผ่อนคลายมากกว่ารวมถึงเป็นกีฬาที่ไม่ได้เข้าปะทะกันโดยตรง แต่พอเป็นการแข่งขันก็มีการกำหนดกติกาให้ผู้เข้าแข่งขันได้ทำตามอยู่ หนึ่งเสื้อผ้าที่ใส่นั้นไม่ได้กำหนดข้อห้ามเรื่องสีอย่างเป็นทางการ แต่ได้กำหนดเรื่องลวดลายไม่ควรมีมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามสับสนได้ แนะนำว่าควรจะเป็นเสื้อสีพื้นมากกว่า กางเกงก็เช่นกันควรเป็นขาสั้นเหนือเข่าเพื่อการเคลื่อนไหวที่คล่องตัวมากกว่า รองเท้าเป็นผ้าใบและใส่ถุงเท้าด้วย ส่วนด้านบนอาจจะมัดผมก็ได้เพื่อป้องกันการรบกวนสายตาจากไรผม ไม่นิยมสวมหมวกในการเล่นเพราะเป็นกีฬาในร่มอยู่แล้ว แต่เครื่องแต่งกายอีกอย่างของกีฬาชนิดนี้ก็คือที่รองข้อมือจะเป็นยางยืด หรือ ผ้าก็ได้ เป็นการทำให้ข้อมือกระชับมากขึ้น ซับเหงื่อจากแขนไม่ให้ไหลไปที่มืออีกด้วย ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายสำคัญเลย ส่วนถุงมือไม่นิยมเพราะจะทำให้จับแรกเก็ตไม่ถนัด

สนามที่ใช้ในการเล่นกีฬาแบดมินตัน

     การเล่นกีฬาแบดมินตัน สามารถใช้รูปแบบของสนามที่ต่างกันออกไปได้ โดยกีฬาแบดมินตัน สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม หนึ่งคือกลุ่มที่เล่นกันทั่วไป หากเป็นแบบนี้เรื่องของพื้นที่ในการเล่นนี้จัดเอาเองได้เลยตามต้องการ จะเอาแค่ไหนก็ทำได้ (แต่ไม่ควรกว้างเกินไป วิ่งไม่ทันแล้วจะเล่นไม่สนุก) สองเนตที่แบ่งเขตแดน อาจะเอาเนตแบบอื่น หรือ อย่างอื่นมาเป็นเส้นกั้นก็ได้ตามความชอบ อีกกลุ่มก็คือการแข่งขันระดับเป็นทางการทุกอย่างจะต้องได้มาตรฐานตามที่ตั้งไว้เพื่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมของทั้งสองฝ่าย โดยสนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีเส้นขอบสนามล้อมรอบ โดยมีตาข่ายแบ่งออกเป็นสองฝั่ง แต่ละฝั่ง ก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง(แดน)ซ้ายขวาคล้ายกับตารางขนาดเล็กซ้อนลงไป ด้านท้ายของสนามจะมีเส้นแบ่งระหว่างการเล่นเดี่ยว กับการเล่นคู่ เสาตาข่ายจะต้องสูงจากพื้น 1.55 เมตร ตาข่าย(เนต)ตั้งตรงตามกติกา

กฎ กติกาแบดมินตัน และ เทคนิคการเล่นแบดมินตัน

     กฎกติกา การเล่นแบดมินตัน รวมไปถึงมารยาทในการเล่นแบดมินตันนั้น ฟังแล้วดูเหมือนง่ายแต่เวลาเล่นไม่ง่ายเลย คอนเซปต์การเล่นกีฬาแบดมินตันก็ง่ายๆ เราต้องตีโต้ลูกขนไก่ไปมาระหว่างตัวเรากับฝ่ายตรงข้าม หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถตีโต้กลับมาได้ก่อนก็เสียคะแนน หรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตีลูกออก ติดเนต ก็เสียแต้มด้วยเหมือนกัน ฝ่ายใดทำแต้มที่เป้าที่กำหนดได้ก่อนก็เป็นผู้ชนะไปในตานั้นๆ

การเสิร์ฟลูกแบดมินตัน

     การเสิร์ฟลูกแบดมินตันจำเป็นต้องมีขั้นตอนการเริ่มต้นที่ถูกต้องตามกฎ กติกาด้วย ไม่เช่นนั้นก็อาจฟาล์วจนเสียคะแนนได้ โดยการเสิร์ฟเป็นการเปิดเกมการเล่นของตัวเองและฝ่ายตรงข้าม ดังนั้นกติกาจึงค่อนข้างเข้มงวด เพื่อป้องกันการใช้ลูกตุกติกต่อฝ่ายตรงข้าม การเสิร์ฟลูกของกีฬาแบดมินตันจะงงหน่อยในตอนแรกแต่พอเล่นแล้วจะเข้าใจได้เอง หนึ่งเลยหากเป็นประเภทคู่ตำแหน่งการยืนของผู้เสิร์ฟกับผู้รับลูก จะต้องทแยงมุมกัน กล่าวคือ ผู้เล่นจะต้องยืนอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมพื้นที่ขวามือของแดนตัวเองที่คะแนนเป็นเลขคู่ จากนั้นจะสลับไปยืนทางฝั่งซ้ายหากคะแนนเป็นเลขคี่(เท้าห้ามเหยียบเส้น) ส่วนการส่งลูกกำหนดไว้ว่าใครได้คะแนนจะเป็นคนส่งลูกต่อในเกมถัดไป จากนั้นผู้เสิร์ฟจะต้องรีบเสิร์ฟทันทีที่กรรมการให้สัญญาณ โดยจะต้องเสิร์ฟด้วยท่าที่ถูกต้องด้วย เราให้คำอธิบายง่ายๆว่า ผู้เสิร์ฟจะต้องทำให้หัวไม้แร็กเก็ต ต่ำกว่ามืออีกข้างที่ถือลูก ที่กำหนดไว้แบบนี้ก็เพื่อไม่ให้ฝ่ายเสิร์ฟได้เปรียบจนเกินไป (อย่าลืมว่าคนได้คะแนนจะได้เสิร์ฟต่อหากไม่กำหนดเอาไว้ การเอาชนะด้วยการเสิร์ฟอย่างเดียวจะทำให้เกมน่าเบื่อ) เพิ่มเติมว่า หากเป็นประเภทคู่การเสิร์ฟจะต้องทำให้ลูกพุ่งไปหาฝ่ายตรงข้ามในแนวทแยงมุมเท่านั้น นักกีฬาในทีมจะทำการสลับกันเสิร์ฟไปมาระหว่างผู้เล่นในทีมวนไป

วิธีการนับคะแนนแบดมินตัน และ การตัดสินผลแพ้ชนะ

     วิธีการนับคะแนนเพื่อรู้ผลแพ้ชนะในกีฬาแบดมินตันไม่มีข้อยุ่งยากแต่อย่างใด โดย จะกำหนดว่าใครสามารถไปถึงแต้มที่กำหนดได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะขอถอนตัวจากอาการบาดเจ็บ หรือ ยอมแพ้เท่านั้น ส่วนการตัดสินผลแพ้ชนะจะไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นการแข่งขันแบดมินตัวประเภทชาย ทั้งแบบเดี่ยวและแบบคู่ กำหนดไว้ 15 คะแนน ต่อ 1 เกม(ใครทำได้ก่อนชนะ) แต่ถ้าหากแต้มเสมอกันที่ 14 คะแนน จะเล่นต่อในช่วงดิวส์ ถึง 17 คะแนน แต่ถ้าเป็นประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ และ คู่ผสมแต้มจะลดลงมาที่ 11 คะแนน ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 10 คะแนน จะดิวส์ต่อถึง 13 คะแนนเท่านั้น โดยผู้ชนะจำนวน 2 ใน 3 เกมจะเป็นฝ่ายชนะการแข่งขันในแมตช์นั้นไป บางกรณีอาจจะเพิ่มเป็น 3 ใน 5 หรือ 4 ใน 7 ก็ได้แล้วแต่ฝ่ายจัดการแข่งขัน

การฟาล์วของผู้เล่นแบดมินตัน

     การฟาล์วของผู้เล่นหรือการเสียแต้มเสียคะแนนถือว่าเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ของผู้เล่นในทีม และไม่ว่าจะเป็นกีฬาอะไรก็ตาม การฟาล์วเป็นสิ่งที่ผู้เล่นต้องจดจำให้ขึ้นใจ จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ยิ่งเกมการแข่งขันด้วยแล้ว การทำฟาล์วอาจจะหมายถึงการเสียแต้มนั้นไปเลย ซึ่งมีผลต่อการแข่งขันมาก การฟาล์วของนักกีฬาแบดมินตันก็จะมีการสัมผัสเนต หรือ ไม้แร็กเกตสัมผัสเนต ก็จะเสียฟาล์ว การล้ำพื้นที่คอร์ดฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นเหนือเนต หรือใต้เนตแบบนี้ก็ฟาล์ว รวมไปถึงพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่ดี อาจเป็นการขัดขวางการเล่นของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่แสดงออกมาต่อหน้าผู้ชมนั่นเอง

การสลับฝั่ง และ ขอเวลานอก

     การเล่นกีฬาแบดมินตันก็จะมีลักษณะคล้ายกับกีฬาชนิดอื่นๆ คือมีการสลับฝั่งระหว่างทีมด้วย โดยเมื่อจบเกม ผู้เล่นจะต้องสลับฝั่งกันเพื่อความเสมอภาคในการเล่น แต่หากเป็นการเล่นเซตเดียว หรือ เซตสุดท้าย หลังจากจบคะแนนที่ 7 ของเกม 11 คะแนน หรือ คะแนนที่ 8 ของเกม 15 คะแนน ผู้เล่นจะต้องสลับฝั่งกันด้วย ส่วนการขอเวลานอกเนื่องจากกีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่เกมสั้นมาก แต่เพื่อนักกีฬาได้มีการแก้เกมระหว่างการแข่งขันจึงกำหนดให้มีการขอเวลานอกได้เกมละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาทีเท่านั้น

กฎ กติกาแบดมินตัน การเริ่มเล่นใหม่

     กฎกติกาการเล่นกีฬาแบดมินตันจำเป็นที่ผู้เล่นและผู้ชมต้องทราบ เพื่อการเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นกีฬาชนิดนี้ที่ถูกต้องที่สุด โดยกีฬาแบดมินตันจะมีการเริ่มเล่นเกมนั้นใหม่ ซึ่งจะไม่นับแต้มอะไรทั้งนั้น และไม่เปลี่ยนผู้เสิร์ฟด้วย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การเสิร์ฟโดยที่ผู้รับยังไม่พร้อม, การทำฟาล์วทั้งสองฝ่ายพร้อมกันทั้งฝ่ายเสิร์ฟและฝ่ายรับ , การที่ลูกไปติดอยู่ในตาข่าย, ระหว่างเล่นลูกขนไก่ที่ตีนั้นขนหลุดร่วงออกมาจนลูกขนไก่แตก(ตีแรงจนลูกแตก) เกมนั้นก็ไม่นับ, กรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้ ซึ่งกรณีต่างๆ เหล่านี้มักเกิดขึ้นในสถานการณ์จริงขณะทำการแข่งขันให้เห็นกันได้บ่อยครั้งมากขึ้น

   กรรมการตัดสิน แบดมินตัน

     การจัดแข่งขันระดับมาตรฐานนั้น จะมีกรรมการอยู่สามคนเป็นอย่างน้อย หนึ่ง กรรมการตัดสินกลางจะทำหน้าที่ตัดสินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสนาม จะนั่งเส้นกลางสนามริมทางด้านใดด้านหนึ่ง สองกรรมการกำกับเส้นขอบ จะทำหน้าที่ตัดสินว่าลูกขนไก่ที่เกิดขึ้นนั้นลงสนามหรือออกนอกสนาม รวมถึงการตัดสินวิธีการเสิร์ฟด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากลูกออกหรือผิดวิธีการเล่น(ฟาล์ว) กรรมการจะขานสัญญาณออกมาแล้วหยุดเล่นทันทีเพื่อให้กรรมการกลางตัดสินอีกครั้ง หากผู้เล่นต้องการจะคัดค้านคำตัดสินดังกล่าว จะต้องทำในเวลานั้นเลย(เถียงว่าลูกออกหรือไม่ออก) หากผ่านไปแล้วจะถือว่านักกีฬายอมรับคำตัดสินดังกล่าว และเป็นที่สิ้นสุด